รุนแรงมากขึ้น! ผู้ว่าฯ 7 จังหวัดสั่ง “ปิดเมือง” หลังเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก

ข่าวบันเทิงล่าสุดวันนี้

วันนี้ (อังคารที่ 31 มีนาคม 2563) จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงนามคำสั่งจังหวัด ระงับการเดินทางเข้า-ออกของบุคคล จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว, นครศรีธรรมราช , ยะลา , ภูเก็ต , ปัตตานี , ตาก และนราธิวาส

1. จังหวัดนราธิวาส
นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้ลงนามคำสั่งจังหวัดนราธิวาสระงับการเดินทาง เข้า-ออก จังหวัดนราธิวาส ดังนี้

1. ห้ามประชาชนเดินทาง เข้า -ออก ข้ามเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส อันเนื่องมาจากเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19 เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค การป้องกันโรค การฆ่าเชื้อโรค การขนส่งสินค้าที่จำเป็น สินค้าอุปโภค – บริโภค การไปรษณีย์ อุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ยานพาหนะเพื่อการกู้ชีพ กู้ภัยฉุกเฉิน รถพยาบาล และยานพาหนะของทางราชการ หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

2. ห้ามผู้ที่เป็น หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดเดินทางเข้า -ออก หมู่บ้านหรือเอกเทศ สำหรับที่แยกกัน หรือกักกัน และหรือข้ามเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้ล่าช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิ์โต้แย้งตามมาตรา 30 วรรค 2 (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539 หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ จะมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหรือเป็นความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีผลตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

2. จังหวัดนครศรีธรรมราช 
นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้ออกคําสั่งห้ามประชาชนเดินทางเข้า-ออก ในเขตพื้นที่ จว.นครศรีธรรมราช จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะคลี่คลาย ทั้งนี้ยกเว้นรถขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค รถไปรษณีย์ รถอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ รถพยาบาล รถกู้ภัย และรถยนต์ ของทางราชการ ซึ่งผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ได้รับการยกเว้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด

3. จังหวัตยะลา 
นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีคำสั่งที่ 15/2563 เรื่อง ระงับการเดินทางเข้า–ออกจังหวัดยะลาของบุคคล โดยมีข้อความว่า เนื่องด้วยปัจจุบันจังหวัดยะลามีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในหลายอำภอ และพบการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไปสู่ประชาชนวงกว้าง การควบคุมพื้นที่ที่มีปัจจัยเสียงต่อการแพร่ระบาดของโรค จังหวัดยะลาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างเข้มขันเพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง

ประกอบกับมติคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จังหวัตยะลา เห็นชอบให้ประกาศให้จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรดโควิด-19 ทั้งพื้นที่ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลามีคำสั่งให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พศ. 2558 (ฉบับที่ 1) ข้อ 1 การห้ามเข้าพื้นที่เสียง ข้อ 10 วรรคลอง และวรรคสามมาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย ข้อ 11 มาตรการป้องกันโรค ข้อ 13 คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดยะลา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 จังวัดยะลา จึงมีคำสั่ง ดังนี้

1.ห้ามประชาชนเดินทางเข้า-ออก ข้ามเขตพื้นที่จังหวัดยะลา อันเนื่องมาจากป็นพื้นที่ ที่เสี่ยงต่อการติตต่อเชื้อโรคโควิด – 19 เวันแต่ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การทำให้ปลอดภัย จากเชื้อโรค การป้องกันโรค การฆ่าเชื้อโรค การชนส่งสินค้าที่จำเป็น สินค้าอุปโภค บริโภค การไปรษณีย์ อุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการแพย์ ยานพาหนะเพื่อการกู้ชีพ กู้ภัยฉุกเฉิน รถพยาบาล และยานพาหนะของทางราชการ หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทั้งนี้ ผู้ด้รับการยกเว้นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด

2. ห้ามผู้ที่เป็น หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติตต่ออันตราย หรือโรคระบาด เดินทางเข้า-ออกหมู่บ้านหรือที่เอกเทศ สำหรับที่แยกกัน หรือกักกัน และหรือข้ามเขดขึ้นที่จังหวัดยะลา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้ล่าช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิ์โต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรค 2 (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ 2539 หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ มีฐานความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ 2558 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับและ หรือเป็นความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่กิน 2 ปี หรือ ปรับไม่กินสี่หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

4. จังหวัดภูเก็ต 
นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ออกประกาศจังหวัดภูเก็ต แจ้งปิดช่องทางเข้า-ออกจังหวัดภูเก็ต บริเวณด่านตรวจท่าฉัตรไชย และช่องทางเข้า-ออกทางน้ำ ทั้งระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ มีผลตั้งแต่ 00.01 น. ของวันที่ 30 มี.ค. – 30 เม.ย. 63 ส่วนการปิดสนามบินนั้น กพท. จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการปิดสนามบินได้ ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. เป็นต้นไป ทั้งนี้ระหว่าง วันที่ 30 มี.ค. -9 เม.ย. สนามบินภูเก็ตยังคงให้บริการเที่ยวบินตามปกติ

5. จังหวัดตาก 
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประกาศการระงับการเดินทางเข้า-ออก ของบุคคล ณ จุดผ่านแดนถาวรจังหวัดตาก เพื่อควบคุมโควิด-19 ทางจังหวัดตากต้องเพิ่มมาตรการเข้มงวดการเข้า-ออก จุดผ่านแดน เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 (1) แห่ง พรบ. โรคติดต่อ พ.ศ.2558 และมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตาก จึงปิดและระงับจุดผ่านแดนทุกแห่งทุกจุด ยกเว้น การนำเข้า-ส่งออก สินค้า และสินค้าผ่านแดน โดยอนุญาตให้มีพนักงานขับรถ 1 คน และคนประจำรถสินค้า 1 คน สัญชาติไทยหรือเมียนมา รวมคันละไม่เกิน 2 คน และต้องผ่านการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อโควิด-19 จากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ที่จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 สำหรับการปิดพรมแดนนั้นจะปิดห้ามบุคคลเข้า-ออก ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. 2563 เป็นต้นไป เป็นการปิดแบบเด็ดขาด จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

6. จังหวัดสระแก้ว 
นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ได้ประกาศสั่งให้เลื่อนการเปิดด่านชายแดนทุกแห่งใน จว.สระแก้ว ออกไปไม่มีกําหนด จนกว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ได้แก่ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ, จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อ.คลองหาด, จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองปรือ อ.อรัญประเทศ,จุดผ่อนปรนการค้าบ้านตาพระยา อ.ตาพระยา และช่องทางอนุโลมชั่วคราว 15 จุด ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ, อ.คลองหาด, อ.ตาพระยา และ อ.โคกสูง

7. จังหวัดปัตตานี
นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ได้ลงนามในคําสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออันตรายและดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ระบุว่า เนื่องด้วยปัจจุบันจังหวัดปัตตานี พบว่ามีการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้ว ในหลายอําเภอ และพบการเพิ่มขึ้นของจํานวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคไปสู่ประชาชนในวงกว้าง การควบคุมพื้นที่ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค จังหวัดปัตตานีจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อย่างเข้มข้น เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง จึงมีคําสั่ง ดังนี้

1.ห้ามประชาชนเดินทาง เข้า – ออก ข้ามเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี อันเนื่องมาจาก เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด- 19 เว้นแต่ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การทําให้ ปลอดภัยจากเชื้อโรค การป้องกันโรค การขนส่งสินค้าที่จําเป็น สินค้าอุปโภค บริโภค อุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ยานพาหนะเพื่อการกู้ชีพ กู้ภัยฉุกเฉิน รถพยาบาล และยานพาหนะ ของทางราชการ หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทั้งนี้ ผู้ให้รับการยกเว้นต้องปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด

2. ห้ามผู้ที่เป็น หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาด เดินทางเข้า – ออก จากหมู่บ้านหรือที่เอกเทศ สําหรับที่แยกกัน หรือกักกัน และหรือข้ามเขตพื้นที่ จังหวัดปัตตานี เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เป็นช้าไปจะก่อให้เกิด ความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิ โต้แย้งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หากผู้ใดฝ่าฝืนคําสั่งนี้ จะมีความผิด แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ มีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและ หรือเป็นความผิดแห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอัตราโทษ จําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 28 มี.ค. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยยังมีจังหวัดที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร , ชัยนาท , ตราด , น่าน ,บึงกาฬ , พังงา , พิจิตร , ระนอง , ลำปาง , สกลนคร , สตูล , สมุทรสงคราม ,สิงห์บุรี และ อ่างทอง